พิชิตด่าน Challenge ด้วย 7 คำแนะนำ

พิชิตด่าน Challenge ด้วย 7 คำแนะนำ

ปัจจุบันการเข้ามาของเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว ซึ่งเป็นช่องทางสร้างคู่แข่งทางธุรกิจอีกมากมาย เรียกได้ว่าลักษณะดังกล่าวเป็นช่วงอิ่มตัวของธุรกิจไปเสียแล้ว

ทั้งนี้ การยืดอายุแบรนด์ไม่ให้หายไปตามกาลเวลาให้ยาวนานที่สุด เพื่อไม่ให้เข้าสู่ช่วงถอดถอย และอยู่จุดต่ำสุด จนกระทั่งต้องปิดกิจการลง ซึ่งถือว่าเป็น Challenge สำคัญสำหรับผู้ประกอบการทุกคน เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

ดังนั้น ถ้าหากคุณไม่อยากให้ธุรกิจต้องตกอยู่ในสภาวะดังกล่าวแล้วล่ะก็ เรามีคำแนะนำดี ๆ เพื่อพิชิตด่าน Challenge และทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างต่อเนื่อง

  1. สร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้น่าจดจำ
    Production Base (ผลิตแล้วขาย) ไม่สามารถอยู่รอดได้ในปัจจุบัน ณ วันนี้ลูกค้าต้องการมากกว่าจ่ายเงินซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การมอบประสบการณ์ที่ได้รับจากแบรนด์ จะสร้างการจดจำ และเกิดความรอยัลตี้อีกด้วย
    Coca Cola – สร้างประสบการณ์โดนใจผู้บริโภคผ่านแคมเปญ ด้วยการส่งกระป๋องโค้กที่สามารถพิมพ์ชื่อคนลงไป ซึ่งนอกเหนือจากการซื้อกินเองคนเดียวแล้ว ยังกลายเป็นของฝาก เพื่อมอบให้ให้คนรอบข้างหรือคนที่เรารัก ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัว
  2. เน้นการขยายฐานลูกค้าที่มีอยู่
    หลายครั้งที่ผู้ประกอบมักลืมลูกค้าปัจจุบัน และพยายามที่จะสร้างฐานลูกค้าใหม่ ทั้งนี้ลูกค้าที่มีอยู่แล้ว แทบไม่ต้องเสียเงินเพื่อทำการตลาดใหม่ด้วยซ้ำ เพียงแค่รักษามาตรฐานเดิม และมุ่งพัฒนาสินค้าหรือบริการ ก็สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้
    S&P – โดยการเอาโต๊ะมาวางหน้าร้าน เพื่อให้เบเกอรี่เป็นที่สะดุดตา และส่งกลิ่นหอมในตอนเช้า หยิบได้ง่าย ช่วยกระตุ้นการซื้อให้กับลูกค้าในช่วงเวลาเร่งรีบ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นทันทีจากฐานลูกค้าปัจจุบัน
  3. ขยายการเติบโตสู่พื้นที่ใหม่ๆ
    การสร้างพื้นที่การขายรูปแบบใหม่ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้หลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการขยายธุรกิจที่ช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักกว้างขึ้น ดังนั้น การเติบโตในรูปแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไป เช่น ออนไลน์ โมเดิร์นเทรด และส่งออกต่างประเทศ
    Dunkin’ Donuts – หลังจากที่เราคุ้นเคยกับการซื้อโดนัทตามสาขาห้าง ในปีนี้ Dunkin ได้มีการขยายธุรกิจสู่พื้นที่ใหม่นั้นก็คือ Drive Thru ซึ่งมีการเปิดสาขาแรกในไทยเป็นที่เรียบร้อย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ปัจจุบันที่ทุกคนเร่งรีบ และขยายการเข้าถึงผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายอื่น
  4. สร้างสินค้าและบริการใหม่ให้ใกล้เคียงกัน
    การเพิ่มเครื่องสำอางใหม่แต่เหมือนกัน ดีกว่าการเพิ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมหรือผิวหนัง รวมถึงการเพิ่มบริการที่เกี่ยวข้องกับสายผลิตภัณฑ์ของคุณในปัจจุบันจะดีกว่า
    เบอร์แทรม – ‘เซียงเพียวอิ๊ว’ ตำนานยาดมคู่คนไทย จากจุดเริ่มต้นมีเพียงแค่ยาหม่องน้ำ ก่อนที่ขยายตลาดไปสู่ยาดม ยาหม่องแท่ง เห็นได้ชัดว่าเป็นการสร้างสินค้าใหม่ลักษณะใกล้เคียงกันภายใต้ชื่อแบรนด์เดิม และส่งผลให้เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดยา และสร้างมูลค่าแบรนด์เพิ่มยิ่งขึ้นตามไปด้วย
  5. ปล่อยให้มืออาชีพจัดการ
    การสร้างสินค้าหรือบริการหนึ่งขึ้นมาอาจใช้นวัตกรรม หรือความสามารถเฉพาะทางหลายอย่าง หากไม่มีความเชี่ยวชาญ การมองหาพันธมิตรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาลงมือทำด้วยตัวเอง และช่วยเพิ่มพาร์ทเนอร์ในธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง
    Land and House – ถึงแม้ว่าจะทีมขายเป็นของตัวเอง หากแต่อสังหาริมทรัพย์บางโครงการ ที่อาจจะปิดการขายได้ยาก แบรนด์ดังกล่าวจึงจ้างมืออาชีพทางด้านงานขาย ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อสร้างยอดขายให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  6. จับมือคู่แข่ง
    วิธีการนี้เรียกว่า “Coopetition” คือ การแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ภายใต้ความร่วมมือกัน เพื่อช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งกันและกัน ถึงแม้ว่าสุดท้ายจะต้องมาแข่งขันกันในอนาคตก็ตาม
    Toyota – ร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำอย่าง Citroen และ Peugeot ร่วมกันวิจัยและพัฒนา (R&D) รถยนต์ขนาดเล็กในปี 2548 ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการวิจัย และพัฒนาเป็นจำนวนมาก
  7. เข้าใจผู้บริโภคว่าต้องการอะไร
    ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ว่าผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีกำลังซื้ออยู่ในช่วงกลุ่มอายุเท่าใด และจะต้องใช้เครื่องมือแบบไหนในการนำเสนอ
    แบรนด์ศรีจันทร์ – ภาพลักษณ์เดิมของศรีจันทร์นั้นมีความโบราณและเชย ถึงแม้ว่าสินค้าจะมีคุณภาพก็ตาม ส่งผลให้ภาพลักษณ์เข้าถึงยากโดยเฉพาะกลุ่มเจนวาย ซึ่งกำลังจะเป็นผู้บริโภคที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งการปรับกลยุทธ์ครั้งนี้ของศรีจันทร์ ดึงดูดให้ผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวซื้อใช้ และไม่มองข้ามแบรนด์