รวมเว็บไซต์สายฟรีแลนซ์ ที่อยู่บ้านก็หาเงินออนไลน์ได้

รวมเว็บไซต์สายฟรีแลนซ์ ที่อยู่บ้านก็หาเงินออนไลน์ได้

ยุคนี้แค่มีคอมกับอินเทอร์เน็ต ก็หาเงินผ่านเว็บไซต์ได้แล้ว ตอบโจทย์เทรนด์ “Gig Economy” ที่การทำอาชีพอิสระกลายเป็นค่านิยมของคนรุ่นใหม่ มาดูกับครับว่ามีเว็บไซต์อะไรบ้างที่เปิดพื้นที่ให้คนเข้าไปหารายได้เสริมกันได้แบบสุจริตและอิสระ

  • Fastwork

เว็บไซต์ศูนย์รวมชาวฟรีแลนซ์ไทย ให้ลูกค้าและชาวฟรีแลนซ์ได้มาเจอกัน ใครมีฝีมือด้านไหนก็ไปโพสต์หาลูกค้าได้เลย มีทั้งงานกราฟิกดีไซน์ เขียนบทความ แปลภาษา งานล่าม ช่างภาพ ตัดวิดีโอ ช่างแต่งหน้า ฯลฯ เยอะแยะมากมายบรรยายไม่หมด ใครเก่งด้านไหน เอางานอดิเรกมาเปลี่ยนเป็นรายได้เสริมที่เว็บนี้เลย

  • TrueID In-Trend

ใครชอบเขียนบทความ ไม่ว่าจะแนวรีวิว ท่องเที่ยว ข่าวสาร ไลฟ์สไตล์ ร้านอาหาร แฟชั่น ความงาม ฯลฯ สารพัดแนว สามารถสมัครขายบทความให้กับเว็บไซต์ TrueID In-Trend ได้ในราคาบทความละ 100 บาท แต่ต้องเป็นบทความที่เขียนขึ้นใหม่ ความยาวไม่น้อยกว่า 400 คำ และมีภาพประกอบที่ไม่ติดลิขสิทธิ์

  • Google AdSense

สำหรับใครที่มีเว็บไซต์ของตัวเองอยู่แล้ว มียอดคนเข้าชมเว็บดีพอสมควร ก็สามารถหาเงินได้ผ่านระบบ Google AdSense นั่นก็คือการให้ Google เช่าพื้นที่บนเว็บของเราเพื่อเผยแพร่โฆษณานั่นเอง เมื่อมีคนเห็นโฆษณาในเว็บและคลิกเข้าไป เราก็จะได้เงินจาก Google

  • User Testing

เป็นเว็บไซต์สำหรับให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์เข้ามาทดสอบงานของตัวเอง โดยเราสมารถสมัครเข้าไปเป็นคนรีวิวเว็บไซต์ให้พวกเขาได้ เพียงแค่เราเปิดหน้าเว็บแล้วคลิกปุ่มต่าง ๆ ตามที่เขากำหนด แล้วเราก็บันทึกวิดีโอหน้าจอและอัดเสียงรีวิวของเราลงไป (แต่ต้องพูดภาษาอังกฤษเท่านั้นนะ) สามารถทำรายได้ถึงวันเป็นสิบดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

  • Redbubble

เป็นเว็บไซต์รับผลิตและขายสินค้าสกรีนลาย โดยเราสามารถสมัครเข้าไปเป็นศิลปินให้กับเว็บไซต์ อัพโหลดภาพลายสินค้าที่เราเป็นคนออกแบบ โดยเลือกได้ว่าจะให้ลายของเราไปอยู่บนสินค้าอะไรบ้าง เช่น หมอน กระเป๋าผ้า แก้วน้ำ เสื้อยืด ฯลฯ เสร็จแล้วทางเว็บก็จะโพสต์ขายสินค้าให้กับเราโดยที่เราไม่ต้องลงทุนผลิตอะไรเองเลย เมื่อมีคนสั่งสินค้าเรา ทางเว็บก็จะผลิตสินค้าตามสั่ง จัดส่งให้ลูกค้า และจ่ายส่วนแบ่งให้กับเรา ใครมีสกิลวาดรูปสวย ๆ ต้องมาลอง

  • เว็บไซต์ขายภาพ Stock ต่าง ๆ

ใครที่มีทักษะถ่ายภาพ หรือทำภาพกราฟิกได้ สามารถขายภาพถ่ายหรือภาพเวกเตอร์ของตัวเองผ่านเว็บไซต์ที่เรียกว่า Microstock เพื่อเปิดให้ลูกค้าจากทั่วโลกมาเลือกซื้อภาพไปใช้ได้ เมื่อมีคนซื้อเราก็จะได้ส่วนแบ่งยอดขายมานั่นเอง ที่นิยมกันก็จะมีเว็บไซต์ Shutterstock, iStock, Gettyimage, Alamy, Fotolia

ถ้าชอบบทความนี้ สามารถกด Like เพจ “ศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี” และตั้งค่า See First เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ เรื่องราวแรงบันดาลใจ และบทวิเคราะห์ดี ๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะ