จุดเด่น-จุดด้อย E-Commerce แต่ละ Platform

ในยุคดิจิทัลยืนหนึ่งแบบนี้ โอกาสเติบโตของ SMEs จึงหนีไม่พ้นการรุกตลาด E-Commerce เพราะ Platform Online กลายเป็นช่องทางการตลาดและการซื้อขายที่มีบทบาททั้งในปัจุบันและจะยังคงทรงอิทธิพลไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีกำลังซื้อมหาศาลเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับการที่มีเทคโนโลยีแฝงอยู่ในทุกจังหวะของชีวิตตั้งตื่นยันนอน ดังนั้น หากผู้ประกอบการ SMEs รายไหนที่ยังไม่ก้าวมาเล่นในตลาดอีคอมเมิรชก็เท่ายินยอมให้คู่แข่งชิงส่วนแบ่งตลาดไป

แต่ถ้าผู้ประกอบการ SMEs รายไหนที่กำลังเดินเข้ามาสู่สังเวียนการค้าออนไลน์แต่ยังไม่รู้ E-Commerce แต่ละ Platform มีจุดเด่น-จุดด้อยอะไร ลองมาดูข้อมูลที่เราสรุปมาให้ไว้ประกอบการพิจราณาช่องทางที่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด

จุดเด่น-จุดด้อย ของ E-Commerce แต่ละ Platform

E-Market Place

ข้อดี

  • เป็น Platform ที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับ ลูกค้า สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของ E-Market Place จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่
  • มีระบบการจัดการที่ง่าย ตั้งแต่รูปแบบร้านค้าออนไลน์ ระบบการสั่งซื้อ ระบบการชำระเงิน เป็นต้น
  • สามารถต่อยอดทางธุรกิจได้มากกว่าเช่น การขยายตลาดต่างประเทศ
  • ผู้ให้บริการ E-Market Place รายใหญ่มีการพัฒนาและสร้างระบบ Fulfillmentเพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าอยู่เสมอ อาทิ ระบบการเช็คสต็อกสินค้า การตรวจเช็คคุณภาพสินค้าก่อนทำการจัดส่ง เป็นต้น

ข้อเสีย

  • ผู้ประกอบการสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายในการขายสินค้าออนไลน์ อาจจะเสียเป็นค่าธรรมเนียม (ค่าเช่า) รายปี ส่วนแบ่งจากยอดขาย (ตามแต่ตกลง) เป็นต้น ให้กับเจ้าของ E-Market Place กับเจ้าของE-Market Place
  • ลูกค้าค้นหาร้านค้า หรือเลือกสินค้าได้ยาก เนื่องจากมีผู้ขายจำนวนมากรายต้องใช้เวลาในการค้นหา

Social Commerce

ข้อดี

  • คนไทยคุ้นเคยกับการเล่น Social Mediaเป็นประจำ สามารถใช้งานง่าย และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
  • ผู้ให้บริการ Social Commerce มีการพัฒนาฟังก์ชันหรือฟีเจอร์ เพื่อรองรับกับการใช้งานด้าน E-Commerce อยู่เสมอเช่น การสั่งซื้อสินค้า มีการเก็บฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมเป็นต้น
  • มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่ำ

ข้อเสีย

  • เป็น Platform ที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของความน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้า
  • มีข้อจำกัดบางประเภท ที่ราคาไม่สูงนักออเดอร์จำนวนไม่มาก หากต้องการขยายตลาดต่างประเทศอาจทำได้ยาก
  • ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้น หาก Social Media มีการเรียกเก็บค่าโฆษณา

Website

ข้อดี

  • มีความน่าเชื่อถือ มีตัวตนสำหรับลูกค้าสามารถออกแบบเว็บไซต์ได้ตามความต้องการ
  • มีระบบการบริหารจัดการที่ครบครัน
  • ผู้ประกอบการสินค้าสามารถต่อยอดทางธุรกิจได้มากกว่า เช่น การขยายตลาดต่างประเทศ

ข้อเสีย

  • สินค้าจะต้องเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดหรือเป็นที่รู้จักของลูกค้า
  • มีต้นทุนการบริหารจัดการเว็บไซต์ที่ค่อนข้างสูงในช่วงแรก
  • หากระบบการสั่งซื้อสินค้ามีปัญหาจะต้องแก้ไข หรือจัดการเอง อาจจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • จะต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนา Website ให้สอดรับกับเทรนด์หรือความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกแพลตฟร์อมไหนมาใช้ผู้ประกอบการ SME ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธิ์ หรือเพิ่มลูกเล่นให้ธุรกิจแพรวพราวอยู่เสมอๆ หรือแม้แต่การเลือกช้หลายๆแพลทฟร์อมควบคู่กันไปให้เหมาะสม เช่น ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการที่แบรนด์อาจยังไม่เป็นที่รู้จักมาก ในระยะแรกอาจอาศัยช่องทาง Social Commerce ในการเริ่มทำการตลาดออนไลน์ เพื่อทำให้สินค้าหรือแบรนด์เป็นที่รู้จักของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

หลังจากนั้นค่อยอัพเลเวลขึ้นมาด้วยการเชื่อมโยงหรือดึงลูกค้าจาก Social Commerce ให้เข้ามาเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทาง E-Market Place ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแพลตฟร์อมที่ผู้ประกอบการรายใหญ่นิยมใช้ ช่องทางนี้จึงค่อนข้างได้รับความน่าเชื่อถือพ่วงมาด้วยระบบอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ตั้งแต่ Platform ของการใช้งานที่ง่ายและสะดวก ระบบการชำระเงิน ไป จนถึงระบบจัดส่งสินค้า

ท้ายที่สุดเมื่อแบรนด์ติดดตลาดก็เดินหน้าลุยธุรกิจต่อผ่านการสร้าง Website ของตนเองควบคู่ไปกับ Platform Online อื่นๆ ที่อาจจะต้องลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำเว็บไซต์ที่สูงในช่วงแรกแต่เชื่อว่าเมื่อเดินมาถึงจุดนี้แบรนด์ของคุณก็น่าจะมีความแข็งแกร่งและเงินทุนเพียงพอที่ใช้แก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ในกรณีที่ระบบมีปัญหา