สรุปประเด็น SMED NEW Normal Talk – เรื่อง “สินเชื่อและแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบการ SME ดิจิทัล”

สรุปประเด็น SMED NEW Normal Talk – Digital Providers Series
เรื่อง “สินเชื่อและแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบการ SME ดิจิทัล”
เมื่อ 14 กรกฎาคม 2563 | เวลา 13.00 – 15.30 น.

Sesson 1
Executive Briefing
https://drive.google.com/file/d/1DAvjEBn0dPnP8kbPuTXwbkAkOtD7CS40/view?usp=sharing

โดย คุณชาตรี เวทสรณสุธี
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
__________

ภายใต้สถานการณ์ Covid-19 ทาง SME Bank มีนโยบายการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการทุกกลุ่ม โดยมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะให้บริการ แบ่งออกเป็น

  • สินเชื่อกองทุน เป็นลักษณะสินเชื่อของหน่วยงานอื่น (กระทรวงอุตสาหกรรม /กระทรวงการคลัง /สสว.) ที่ให้ธนาคารทำหน้าที่เป็นผู้บริหารการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี
  • สินเชื่อของธนาคาร แบ่งออกป็น 2 ส่วน
    1. สินเชื่อตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี (คิดอัตราดอกเบี้ย 1-5%)
    2. สินเชื่อของธนาคาร เช่น สินเชื่อ Factoring เป็นสินเชื่อเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบ การที่ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการค้าขาย
  • การร่วมลงทุนในกิจการกับ SME D Bank (วงเงินสูงสุด 30 ล้านบาท)
  • การพัฒนาผู้ประกอบการ เช่น การอบรมสัมมนา
Session 2
สินเชื่อและแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบการ SME อุตสาหกรรมดิจิทัล

2.1
Local Economy Loan: LEL
สินเชื่อเงื่อนไขดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการเทคโนโลยีนวัตกรรม
https://drive.google.com/file/d/1DDxn9JZAeNppa19e2s5krkZhNZpRun-P/view?usp=sharing

โดย คุณพรชัย จิรโสภณ
รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
__________

พันธกิจหลักของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ SME Bank แบ่งออกเป็น

  1. การปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแบ่งออกเป็น
    • สินเชื่อตามมติ ครม. เนื่องจาก SME Bank เป็นธนาคารที่รับนโยบายรัฐต่างๆ มาผลักดันในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ
    • สินเชื่อโครงการของธนาคาร
  1. การร่วมลงทุนในกิจการกับ SME D Bank
  2. การพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งธนาคารจะช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น การให้ความรู้ การตลาด การเชิญลูกค้ามาออกบูธขายของ ซึ่งเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเหลือลูกค้าให้มีรายได้

ในช่วงสถานการณ์ Covid -19 ทางธนาคารมีมาตรการลด พัก ขยายชำระหนี้ ที่ช่วยเหลือในส่วนของลูกหนี้เดิมของธนาคาร หรือเรียกว่ามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ Covid-19 การพักหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งมาตรการของ SME Bank สามารถพัก ขยายการผ่อนชำระหนี้ได้ถึง 24 เดือน และ SME Bank ยังมีการปล่อยสินเชื่อที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ดังนี้

  1. สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน หรือเรียกสั้นๆ ว่า LEL (Local Economy Loan)

เป็นโครงการสินเชื่อตามมติ ครม. เหมาะกับธุรกิจทุกประเภท โดยจะเน้นกลุ่ม startup กลุ่มเกษตรแปรรูป กลุ่มธุรกิจบริการ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ฯลฯ  โดยสินเชื่อ LEL จะช่วยเรื่องของการลงทุนขยาย/ปรับปรุงกิจการ

กลุ่มลูกค้า นิติบุคคล บุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาจดทะเบียน
วงเงินกู้สูงสุด ไม่เกิน 5 ล้านบาท ไม่เกิน 2 ล้านบาท ไม่เกิน 5 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = 2.875% ต่อปี
ปีที่ 4-7 = MLR ต่อปี
ปีที่ 1-3 = 4.875% ต่อปี
ปีที่ 4-7 = MLR ต่อปี
ระยะเวลากู้ยืม สูงสุดไม่เกิน 7 ปี
ระยะเวลาโครงการ สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงิน
หลักประกัน บสย. ค้ำประกัน และ/หรือหลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธนาคารเฉพาะ ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ค่าธรรมเนียม การวิเคราะห์โครงการ (Front End Fee)
1) กรณีเอาหลักประกันค้ำ คิดร้อยละ 1.5 ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ต่อปี
2) กรณี บสย. ค้ำประกัน คิดร้อยละ 2.5 ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ต่อปี

 

  1. สินเชื่อ SMART SMEs
    เป็นโครงการสินเชื่อของ SME Bank เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการวงเงินมากกว่า 5 ล้านบาท และสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อราย ซึ่งโครงการสินเชื่อ SMART SMEs เป็นตัวเดียวของธนาคารที่สามารถ refinance ได้ และหากเป็นกรณีปรับโครงสร้างหนี้ ธนาคารจะพิจารณาประวัติการผ่อน 6 เดือน
กลุ่มลูกค้า นิติบุคคล บุคคลธรรมดาจดทะเบียน
วงเงินสินเชื่อ สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อราย
ทั้งนี้เมื่อรวมวงเงินเดิมกับ ธพว. แล้วต้องไม่เกิน 15 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย 1.   กรณีหลักประกัณฑ์ตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร

ปีที่ 1 = 5% ต่อปี
ปีที่ 2-10 = MLR-0.5 (6.25%)

2.   กรณีหลักประกัณฑ์ตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร+บสย. ค้ำประกัน

ปีที่ 1 = 5.5%
ปีที่ 2-10 = MLR (6.75%)

ระยะเวลากู้ยืม สูงสุด 10 ปี
ระยะเวลาโครงการ สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงิน
หลักประกัน 1.    หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธนาคารเฉพาะ ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
2.    บสย. ค้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินที่อนุมัติ (กรณีหลักประกันไม่เพียงพอ)

 

2.2
Smart Factoring
สินเชื่อเพื่อ SME อุตสาหกรรมดิจิทัลที่มีคู่ค้าภาครัฐและเอกชนรายใหญ่
https://drive.google.com/file/d/1DTgqfIz6GeOo2ygfx-0ljK-RP5t4OsuC/view?usp=sharing

โดย คุณสุรเชษฐ์ พวงเกตุแก้ว
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการสินเชื่อแฟคตอริ่ง

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
__________

Smart Factoring คู่ค้าดี มีชัย

  • สินเชื่อแฟคตอริ่ง เป็นการให้สินเชื่อระยะสั้นเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการของลูกค้า หลังจากที่มีการส่งมอบสินค้า และมีการตรวจรับงานแล้ว (ระหว่างรอเครดิตจากคู่ค้า)
  • คู่ค้าธุรกิจของลูกค้า เป็นกลุ่มภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยารัฐ องค์การมหาชน หรือบริษัทเอกชน ทั้งนี้บริษัทเอกชนจะต้องพิจารณาดูยอดขายรายได้ประกอบ เนื่องจากคู่ค้าของลูกค้าเป็นคนจ่ายเงิน จ่ายสินค้า
  • คุณสมบัติผู้กู้
    • เป็นนิติบุคคล ที่มีสัญชาติไทย ถือหุ้นเกินกว่า 50%
    • เป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียน ไม่ต่ำกว่า 1 ปี
    • ไม่มีประวัติทิ้งงานราชการ เอกชน หรือถูกบอกเลิกสัญญาจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาได้
    • จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ยกเว้นธุรกิจที่ไม่อยู่ในระบบ VAT เช่น ธุรกิจขนส่ง
    • มีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวก
    • ไม่มีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี (กรณีกิจการมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี ล่าสุด หากลูกหนี้การค้าเป็นหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น มหาวิทยารัฐ องค์การมหาชนเท่านั้น ทางธนาคารยกเว้นให้ และให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท)
  • วงจรสินเชื่อแฟคตอริ่ง ประกอบด้วย 3 ส่วน
    1. ผู้ขายสินค้า/ผู้รับจ้าง
    2. ผู้ซื้อสินค้า/ผู้ว่าจ้าง
    3. ธนาคาร SME Bank

โดยผู้รับจ้างต้องทำการส่งมอบงานให้ครบถ้วน และผู้ว่าจ้างมีการตรวจรับงาน ซึ่งผู้รับจ้างสามารถนำใบแจ้งหนี้ ใบตรวจรับงาน มายื่นให้กับทางธนาคาร แฟคตอริ่งจะให้วงเงิน 90%    เพื่อนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ สามารถเบิกจ่ายเป็นรายงวดได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้าง

กลุ่มลูกค้า นิติบุคคล
วงเงินกู้ วงเงินกู้ไม่เกิน 15 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อรวมวงเงินเดิมกับ ธพว. แล้วต้องไม่เกิน 15 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย 1.   ลูกค้าที่มีลูกหนี้การค้าเป็นหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น
มหาวิทยารัฐ องค์การมหาชน

    • กลุ่มที่จ่ายเช็คหรือโอนเงินบัญชีในนาม ธพว. อัตราดอกเบี้ย = MLR (6.75%)
    • กลุ่มที่จ่ายเช็คในนามลูกค้า อัตราดอกเบี้ยร้อยละ = MLR+1 (7.75%)
ค่าธรรมเนียม การวิเคราะห์โครงการ (Front End Fee)

    • คิดร้อยละ 0.5

 

2.3
VC by SME D Bank
ข้อมูลและหลักเกณฑ์การร่วมลงทุน SME D Bank
https://drive.google.com/file/d/1DVQQpqUpBfIA0_LHdWJBZdqDqquSD9l0/view?usp=sharing

โดย คุณลักษณาวดี เลิศศราวุธ
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการทรัสต์
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
__________

บริการร่วมลงทุน

  • มีการจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs ของ 3 ธนาคารรัฐ ได้แก่ SME Bank, ออมสิน,กรุงไทย
  • ผลงานที่ผ่านมามีการจัดตั้ง 2 กอง ลงทุน 10 กิจการ เงินลงทุน 229 ล้านบาท แต่ยังมีวงเงินเหลืออยู่เพราะ SME Bank มีวงเงินที่จัดตั้ง 1,000 ล้านบาท
  • การร่วมลงทุนกับการกู้ต่างกันอย่างไร
      • การกู้เงิน คือ ธนาคารจะเป็นผู้ให้กู้/เจ้าหนี้ ส่วนลูกค้าจะเป็นลูกหนี้ มีการจ่ายผลตอบแทนให้กับ

ธนาคารในรูปแบบของดอกเบี้ย

      • การร่วมลงทุน (VC) คือ ธนาคารเข้ามาถือหุ้นส่วนร่วมกับลูกค้า ธุรกิจมีกำไรธนาคารจะได้ผลตอบแทนร่วมด้วย
  • รูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PE TRUST จะเป็นลักษณะจัดตั้งกองเงิน โดยแต่ละกองจะมีนโยบาย ซึ่งของ SME Bank จะเป็นนโยบายที่ส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจในกลุ่มที่เป็น S-Curve ทั้งหมด เน้นในกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจดิจิทัล โดยมีผู้จัดการทรัสต์เป็นผู้ดูแลคอยให้คำแนะนำปรึกษา อีกทั้งยังมีพันธมิตรที่จะช่วยขยายตลาดธุรกิจต่อไปได้
  • ลักษณะการร่วมลงทุนโดย Venture Capital ของธนาคาร
    • ธนาคารให้เงินลงทุนสนับสนุนกิจการ สูงสุด 30-50 ล้านบาท ต่อกิจการ
    • ธนาคารลงทุนถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 49%
    • ธนาคารลงทุน 3-7 ปี (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจ หากหลัง 3-7 ปี ธุรกิจเติบโต ก็สามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ หรือสามารถซื้อหุ้นคืน/ร่วมธุรกิจกับผู้ถือหุ้นใหม่ได้)
  • หลักเกณฑ์ของกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs
    • เป้าหมายคือการช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อให้ธุรกิจขยายเติบโต การร่วมลงทุนจึงเป็นลักษณะเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ ไม่เกิน 49%
    • สิ่งสำคัญของการร่วมลงทุนคือต้องมีการเปิดเผยข้อมูล สถานะกิจการที่แท้จริง แผนการดำเนินงานต้องชัดเจน ระบบงาน ระบบบัญชีต้องเป็นมาตรฐาน
  • ลักษณะของบริษัทที่จะเข้าร่วมลงทุน
    • มีผลิตภัฒฑ์ หรือนวัตกรรมที่เป็นความต้องการ และมีโอกาสที่จะขยายตลาดทำกำไรสูง
    • เจ้าของธุรกิจต้องมีเป้าหมาย มีการวางแผนธุรกิจ 3-5 ปีในการเติบโตของธุรกิจ ต้องรู้ว่ากลุ่มลูกค้า/กลุ่มตลาดคือกลุ่มไหน
  • จุดเด่น ในการพัฒนาร่วมลงทุนของ SME Bank
    • ไม่ต้องมีหลักประกัน เนื่องจากธนาคารเน้นในเรื่องของ Business Model การเติบโตและความสำเร็จของบริษัท ซึ่งจะเป็นโอกาสของ start up ในกลุ่มดิจิทัล
Session 3
Wrap-up Session

ภาพรวมข้อแนะนำการขอสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการดิจิทัล
https://drive.google.com/file/d/1DWeabVf-VEhwEm7ykF9YErp4RDmxkXig/view?usp=sharing

โดย คุณนงลักษณ์ นิลวงษานุวัติ
ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักพหลโยธิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
__________

6 วิธี SME เตรียมตัวก่อนขอสินเชื่อ

  1. บัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ต้องมีการเดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากธนาคารจะพิจารณาการหมุนเวียนของกระแสเงินสดในระบบ ทั้งนี้ต้องแยกบัญชีส่วนตัวกับแยกบัญชีธุรกิจออกให้ชัดเจน
  2. รักษาเครดิตให้ดีที่สุด โดยต้องชำระอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งธนาคารจะพิจารณาจากพวกบัตรเครดิต finance และเงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ หากมีการผิดนัดค้างชำระหนี้ ต้องผ่อนชำระให้เป็นปกติก่อนอย่างน้อย 6 เดือน พร้อมเอกสารยืนยันที่ชัดเจน
  3. เอกสารทางการค้าเก็บไว้ให้ดี เอกสารที่จะขอมี ดังนี้
    • หนังสือรับรอง ไม่เกิน 30 วัน
    • เครดิตบูโรของบริษัท และผู้ค้ำประกัน
    • เอกสารการเบิกจ่าย ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น สัญญาจ้าง ใบวางบิล เป็นต้น
  1. วางใจธนาคารในเรื่องรักษาความลับลูกค้า ซึ่งธนาคารจะพิจารณาวงเงินจากผลประกอบการของธุรกิจเท่านั้น
  2. ขอสินเชื่อให้เหมาะกับความต้องการ
  3. เตรียมแผนธุรกิจให้พร้อม

ทั้งนี้ การอนุมัติสินเชื่อ ลูกค้าจะต้องยื่นเอกสารให้ครบถ้วนก่อน จากนั้นจะใช้ระยะเวลาภายใน 7 วัน ในการอนุมัติสินเชื่อ (ไม่นับรวมวันที่ยื่นเอกสาร) และธนาคารจะคุยแต่กับเจ้าของธุรกิจเท่านั้น จะไม่มีการคุยกับตัวแทนลูกค้า เนื่องจากต้องการพิสูจน์ความมีตัวตน และความชำนาญในธุรกิจของลูกค้า