5 ปัจจัยสร้างทีมให้แข็งแกร่งฉบับ Google

ไม่มีใครไม่รู้จักองค์กรระดับโลกอย่าง Google และปฎิเสธไม่ได้ว่าปัจุบันได้แทรกซึมและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำเป็นวันของมนุษย์ยุค 4.0 ไปแล้ว ถึงกับมีคำพูดล้อเลียนติดปากใครต่อใครว่า คิดอะไรไม่ออกถามอากู๋

แต่รู้ไหมว่ากว่าจะขึ้นมาเป็นผู้ทรงอิทธิพลระดับโลก Google เบื้องหลังคือ Team ที่ Success ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี ค.ศ. 2016 ทาง Google ได้เผยแพร่ผลวิจัยของโครงการ Project Aristotle ซึ่งบ่งชี้ว่า “ความสามารถไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด” แต่การสื่อสารและสร้างบรรทัดฐาน (Norm)ในทีมต่างหากคือปัจจัยของความสำเร็จที่แท้จริง ทำไม Google ถึงคิดเช่นนี้?

หลายคนคงคิดว่าการที่องค์กรอย่าง Google ที่มีแต่คนเก่งระดับหัวกะทิมารวมตัวกันก็เป็นสุดยอดของทีมอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ Google เจอคือในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ทุกทีมจะสามารถทำงานออกมาได้อย่างดีเยี่ยมแม้ว่าทุกทีมจะเป็นการร่วมงานกันของคนระดับหัวกะทิเหมือนกัน นำมาซึ่งการเกิดของศึกษาวิจัย Project Aristotle จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำการวิจัยบุคลากรของ Google โดยเฉพาะเพื่อหาคำตอบว่าแท้ที่จริงแล้วตัวชี้วัดสำคัญของความสำเร็จในการทำงานระบบทีม (Indicator for Team Success) คืออะไรกันแน่ และสิ่งที่ Google ต้องทำคืออะไร ถ้าต้องการสร้างระบบการทำงานที่สร้าง ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกับทุกฝ่าย และจะพัฒนาบุคคลากรที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหัวกะทิของโลกให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นไปอีกได้อย่างไร

ซึ่งการวิจัยจากProject Aristotle นี้ก็สรุปผลออกมาเป็นปัจจัย 5 ข้อ ที่องค์กรสามารถนำมาใช้ในการสร้างซูเปอร์ทีมที่ทั้งแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพดังนี้

  1. ความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา (Psychological Safety) : สมาชิกในทีมทุกคนเคารพในบรรทัดฐานเดียวกัน มีความเชื่อร่วมกัน และกล้าที่จะนำเสนอความคิดของตนต่อคนอื่นๆ ในกลุ่มโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าความคิดนั้นจะถูกวิจารณ์ ถูกมองว่าโง่ ไม่เห็นด้วย ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่มีความรู้ เป็นความคิดที่ไม่มีค่า เป็นความคิดเห็นที่ไม่น่าจะสำคัญอะไร หรือนำเสนอไปแล้วจะทำให้อับอาย
  2. ความไว้วางใจและเชื่อมั่นระหว่างกัน (Dependability) : สมาชิกในทีมมีความไว้วางใจกัน เชื่อมั่นระหว่างกัน เชื่อมั่นในความสามารถของทุกคน เชื่อมั่นว่าจะทำงานให้สำเร็จได้ เชื่อมั่นว่าจะทันตามกำหนดเวลา เชื่อมั่นว่าจะทำงานได้อย่างมีคุณภาพ และเชื่อมั่นว่าผลลัพธ์จะออกมาดี
  3. โครงสร้างและแผนการทำงานที่ชัดเจน (Structure & Clarity) : ทีมมีการจัดการภายในทีมที่ดี มีการแบ่งโครงสร้างและการทำงานอย่างชัดเจน มีการวางแผนในระยะยาวที่เห็นแผนการทำงานชัดเจนตลอดจนกระบวนการที่ชัดแจ้ง สมาชิกในทีมทุกคนเข้าใจภาระกิจ และแผนงานร่วมกัน ในทิศทางเดียวกัน รู้บทบาทและหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน และตั้งใจทำงานของตนให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันก็เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของคนอื่น ตลอดจนให้ความร่วมมือ หรือประสานงานระหว่างกันด้วยดี ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน และเต็มใจตลอดจนมุ่งมั่นที่จะร่วมแรงร่วมใจกันบรรลุเป้าหมายนั้น
  4. ความหมายของงาน (Meaning of Work) : สมาชิกในทีมรักและภูมิใจในงานของตน รวมถึงรู้จักและเคารพในบทบาทและหน้าที่ทั้งของตนเองและผู้อื่นในทีม ตลอดจนเข้าใจความหมายของงานที่กำลังทำ และเข้าใจคุณค่าของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่แล้วเห็นคุณค่าของคนอื่นและงานอื่นๆ ในทีมด้วย นอกจากนี้ยังควรเห็นคุณค่าในตัวเอง เห็นตัวเองมีความหมายกับองค์กร เห็นทีมมีคุณค่าต่อองค์กร และเห็นองค์กรมีคุณค่า